W69Business

For Every Business

เลือดจางห้ามกินอะไร และควรกินอะไรบ้าง? เพื่อบำรุงเลือดให้ได้ผล

เลือดจางห้ามกินอะไร

เลือดจางห้ามกินอะไร และควรกินอะไรบ้าง? เพื่อบำรุงเลือดให้ได้ผล

เลือดจางห้ามกินอะไร โรคโลหิตจางหรือโรคเลือดจาง (Anemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยเกินไป จึงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หน้ามืดบ่อยครั้ง ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม การเรียนรู้ว่า โลหิตจาง ห้ามกินอะไรบ้าง จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น โดยทั่วไป ผู้ป่วยโลหิตจางควรเลี่ยงการกินอาหารที่อาจลดประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างนม โยเกิร์ต ชีส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหล้า เบียร์ ไวน์ อาหารที่มีโพลีฟีนอลสูงอย่างชา กาแฟ และกินอาหารที่มีธาตุเหล็กซึ่งช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และอาหารที่มีวิตามินซี เช่น ผลไม้ตระกูลซิตรัสซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น หากป่วยด้วยโรคโลหิตจางแล้ว เราก็สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ซึ่งกระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลโลหิตจางห้ามกินอะไร หรือเลือดจางต้องกินอะไรบำรุงมาฝาก

อาการของภาวะโลหิตจาง

อาการของผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ โดยเป็นได้ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย ไปจนถึงมีอาการรุนแรง หรือบางรายอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใดใด จนกว่าภาวะโลหิตจางจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาการผิดปกติเป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจที่หนักขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือดมากขึ้นนั่นเอง

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียกว่าปกติ ไม่สดชื่น
  • มีอาการตัวซีด ตาเหลืองหรือผิวเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • รู้สึกมึนงง วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว
  • เป็นลม หมดสติ
  • มีอาการมือและเท้าเย็น
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น รวมถึงหายใจลำบากเวลาใช้แรง
  • หากอาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้
  • หากมีอาการเรื้อรัง อาจพบอาการมุมปากเปื่อย เล็บมีลักษณะอ่อนแอและแบน หรือเล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน

เลือดจางห้ามกินอะไร ?

สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดจางควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารต่อไปนี้ เนื่องจากอาจรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและธาตุอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น

  • ชา กาแฟ นมและผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด
  • อาหารที่มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) เช่น ถั่วลิสง ผักชีฝรั่ง ช็อกโกแลต
  • อาหารที่มีแทนนิน (Tannins) เช่น องุ่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
  • อาหารที่มีไฟเตต (Phytates) หรือกรดไฟติก (Phytic Acid) เช่น ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า บร็อคโคลี่
  • ผลไม้วิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว องุ่น สตรอว์เบอร์รี่เพื่อช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
  • เนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อสัตว์ปีกและเนื้อแดง
  • ตับ
  • อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง หอยนางรม หอยตลับ หอยลาย
  • ธัญพืช เช่น ถั่วแดง ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ เฮเซลนัต แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ไข่
  • ดาร์กช็อกโกแลต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *